บทที่ 1 คลื่นกล

บทที่ 1 คลื่นกล
....
คลื่นกล อาศัยตัวกลาง
....
ชนิดของคลื่น

-คลื่นตามขวาง : ตัวกลางสั่นตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น เมื่อสะบัดปลายขดลวดสปริง, คลื่นในเส้นเชือก
-คลื่นตามยาว : ตัวกลางสั่นขนานกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น เมื่อขยับปลายขดลวดสปริงเข้าและออก




คลื่นตามขวาง

คลื่นตามยาว



ปริมาณต่างๆ

-แอมพลิจูด (A) มีหน่วยเป็นเมตร (m) : ขนาดของการกระจัดที่มีค่ามากที่สุด ที่อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ขณะคลื่นเคลื่อนที่ผ่าน ซึ่งตำแหน่งที่อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ขึ้นสูงสุด เรียกว่า สันคลื่น และจุดที่เคลื่อนที่ลงต่ำสุด เรียกว่า ท้องคลื่น
-ความยาวคลื่น ( :แลมบ์ดา) มีหน่วยเป็นเมตร (m) : ระยะห่างระหว่างตำแหน่ง 2 ตำแหน่ง ที่มีขนาดและทิศทางของการกระจัดเท่ากัน เช่น ระยะห่างระหว่างท้องคลื่นกับท้องคลื่นที่อยู่ถัดไป หรือระยะห่างระหว่างสันคลื่นกับสันคลื่นที่อยู่ถัดไป
-คาบ (T) มีหน่วยเป็นวินาที (s) : ช่วงเวลาที่ตัวกลางเคลื่อนที่กลับไปกลับมาครบ 1 รอบ


:: สามารถเขียนกราฟความสัมพันธ์ระหว่างการกระจัดของตัวกลางกับเวลาได้ดังนี้ ::



อัตราเร็ว

อัตราเร็วในเรื่องคลื่น แบ่งได้ดังนี้
อัตราเร็วคลื่น หรือเรียกว่าอัตราเร็วเฟส   เป็นอัตราเร็วคลื่นที่เคลื่อนที่ไปแบบเชิงเส้น  ซึ่งอัตราเร็วคลื่นกลจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่าน


การซ้อนทับกันของคลื่น

เมื่อคลื่น 2 ขบวนผ่านมาในบริเวณเดียวกัน มันจะรวมกัน โดยอาศัยหลักการซ้อนทับของคลื่น ( Superposition principle)  การซ้อนทับกันมี 2 แบบ คือแบบเสริม และแบบหักล้าง

-การซ้อนทับแบบเสริม เกิดจากคลื่นที่มีเฟสตรงกัน เข้ามาซ้อนทับกัน  เช่น สันคลื่น+ สันคลื่น หรือท้องคลื่น+ท้องคลื่น  ผลการซ้อนทับทำให้แอมพลิจูดเพิ่มขึ้นมากที่สุด เท่ากับผลบวกของแอมปลิจูดคลื่นทั้งสอง

การซ้อนทับกันของคลื่น แบบเสริม 

-การซ้อนทับแบบหักล้าง เกิดจากคลื่นที่มีเฟสตรงกันข้าม เข้ามาซ้อนทับกัน  เช่น สันคลื่น+ ท้องคลื่น  ผลการซ้อนทับทำให้แอมพลิจูดลดลง เท่ากับผลต่างของแอมปลิจูดคลื่นทั้งสอง
 

การซ้อนทับกันของคลื่น แบบหักล้าง  

ภาพเคลื่อนไหวการซ้อนทับกันของคลื่นแบบเสริม 



สมบัติของคลื่นไม่ว่าเป็นคลื่นชนิดใด จะสามารถแสดงคุณสมบัติที่สำคัญได้ ประการ คือ1. การสะท้อน (Reflection) เป็นคุณสมบัติร่วมระหว่างอนุภาคและคลื่น
รูปภาพแสดงการสะท้อนของคลื่นแบบปลายอิสระ
รูปภาพแสดงการสะท้อนของคลื่นแบบปลายตรึง
- การสะท้อนคลื่นในเชือกปลายอิสระ คลื่นตกกระทบและคลื่นสะท้อนจะมีเฟสตรงกัน
การสะท้อนคลื่นในเชือกปลายตรึง คลื่นตกกระทบและคลื่นสะท้อนจะมีเฟสตรงข้ามกัน
2. การหักเห (Refraction) เป็นคุณสมบัติร่วมระหว่างอนุภาคและคลื่น

 
รูปแสดงการหักเหของคลื่นผิวน้ำ
 คือปรากฏการณ์ที่คลื่นเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง มีผลให้เกิดการเปลี่ยนทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น ตรงบริเวณผิวรอยต่อของตัวกลางทั้งสอง โดยที่มีความถี่ของคลื่นคงเดิม แต่อัตราเร็ว และความยาวคลื่นเปลี่ยนไป ในที่นี้เราจะศึกษาคลื่นน้ำ ถ้าหากเราสร้างคลื่นต่อเนื่องที่เป็นคลื่นเส้นตรงเคลื่อนที่จากบริเวณหนึ่งไปยังบริเวณสอง ซึ่งมีความลึกแตกต่างกัน
                ข้อสังเกต ในน้ำลึกความเร็ว (v) และความยาวคลื่นจะมากกว่าในน้ำตื้น
3.  การเลี้ยวเบน (Diffraction) เป็นคุณสมบัติเฉพาะของคลื่น
4.การแทรกสอด (Interference) เป็นคุณสมบัติเฉพาะของคลื่น
คือการรวมกันของคลื่นต่อเนื่องสองขบวน อันเนื่องมาจากคลื่นทั้งสองขบวนเคลื่อนที่ไปพบกัน
-ตำแหน่งที่เกิดการรวมแบบเสริมกัน จะมีค่าแอมพลิจูดมาก เรียกตำแหน่งนี้ว่า ปฏิบัพ(Antinode : A)
-ตำแหน่งที่เกิดการรวมแบบหักล้างกันจะมีค่าแอมพลิจูดน้อยเกือบเป็นศูนย์ เรียกตำแหน่งนี้ว่า บัพ(node : N)
 
รูปแสดงการแทรกสอดของคลื่นจากแหล่งกำเนิดอาพันธ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น